ประวัติและวิวัฒนาการของตลาด Forex

ต้องยอมรับว่าตลาด forex เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และคนรู้จักเยอะทั่วโลก แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า กว่าจะเป็น forex อย่างที่เรารู้จักกันอย่างทุกวันนี้ ก่อนหน้านั้นมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง เดี๋ยวเราจะพาทุกท่านมาดูประวัติและวิวัฒนาการของตลาด forex กันเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้เรื่องนี้

ไทม์ไลน์วิวัฒนาการเหตุการณ์สำคัญของตลาด forex

  • ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช : มีการสร้างเหรียญทองคำครั้งแรก
  • ค.ศ. 1819 อังกฤษใช้มาตรฐานทองคำอย่างเป็นทางการ
  • ค.ศ. 1834: อเมริกาเริ่มใช้มาตรฐานทองคำ
  • ทศวรรษ 1870 : ประเทศสำคัญๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น เข้าร่วมมาตรฐานทองคำ
  • ค.ศ.1914-1971 : ข้อตกลงเบรตตัน วูดส์ มีผลบังคับใช้
  • ค.ศ. 1973 : ประเทศต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ระบบการเงินแบบลอยตัวอย่างเป็นทางการ
  • ค.ศ. 1985 : Plaza Accord ก่อตั้งโดยรัฐมนตรีคลังจากประเทศสำคัญๆ และเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง
  • ค.ศ. 1992 : มีการลงนามสนธิสัญญามาสทริชต์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายูโรโซนในที่สุด
  • ค.ศ. 1996 : เริ่มต้นการซื้อขายแบบออนไลน์
  • วันนี้ : ปัจจุบันมีการซื้อขายในตลาด forex ปริมาณมากประมาณ 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน มูลค่าของตลาด forex  ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดระหว่างธนาคารเอง ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ ถึงแม้ว่าการซื้อขายรายย่อยจะมีปริมาณใกล้เคียงกันก็ตาม
(ไทม์ไลน์แสดงประวัติความเป็นมาของ forex ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงปัจจุบัน)

จุดเริ่มต้นของ forex (เริ่มต้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช)

  • ระบบการแลกเปลี่ยนเป็นวิธีการแลกเปลี่ยนที่เก่าแก่ที่สุด โดยเริ่มต้นในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งชนเผ่าเมโสโปเตเมียเป็นผู้บุกเบิกนำมาใช้ ภายใต้ระบบนี้นั้น สินค้าจะถูกแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่นได้
  • ในเวลาต่อมา สินค้าประเภทเกลือและเครื่องเทศ ก็กลายเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ได้รับความนิยม และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศครั้งแรก ผ่านเรือซื้อขายสินค้า
  • ในช่วงต้นศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช มีการผลิตเหรียญทองคำชุดแรก ซึ่งใช้เป็นสกุลเงิน ลักษณะสำคัญของเหรียญทองที่ผลิตขึ้นมานั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ: พกพาสะดวก, มีความทนทาน, จำแนกชัดเจน, ความสม่ำเสมอ,  และได้การยอมรับ
  • เหรียญทองได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน แต่ก็ทำไม่ได้เพราะทองมีน้ำหนักมาก ในช่วงทศวรรษที่ 1800 ประเทศต่างๆ ได้นำมาตรฐานทองคำมาใช้
(รูปภาพเหรียญทองเหรียญแรกในตลาดแลกเปลี่ยน)
  • การใช้มาตรฐานทองคำรับประกันว่า รัฐบาลจะแลกเงินกระดาษจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมูลค่าทองคำ สิ่งนี้ใช้ได้ดีมาตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งประเทศในยุโรประงับมาตรฐานทองคำเพื่อพิมพ์เงินมากขึ้นเพื่อเป็นงบประมาณในการทำสงคราม
  • ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากมาตรฐานทองคำ  และในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ประเทศต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนกัน เพราะสามารถแปลงสกุลเงินที่พวกเขาได้รับ เปลี่ยนเป็นทองคำได้
  • อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรฐานทองคำไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ ในช่วงสงครามโลก

ระบบ Bretton Wood (1944-1971)

  • ระบบ Bretton Woods เข้ามาช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
  • ตัวแทนจาก 44 ประเทศมารวมตัวกันในประชุมการเงินและการเงินแห่งสหประชาชาติ ในเมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ เพื่อออกแบบระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่
  • เหตุผลที่ต้องเลือกสถานที่ประชุมที่นี่ เพราะว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่ไม่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม ประเทศหลักๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบยุโรป
  • ในความเป็นจริง หลังจากตลาดหุ้นตกในปี 1929 สงครามโลกครั้งที่สองได้เปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจากสกุลเงินที่ไม่ได้รับการยอมรับ ไปสู่สกุลเงินมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ 
  • การทำข้อตกลง Bretton Woods จัดทำขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจโลกสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ โดยการสร้างตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
  • ข้อตกลงนี้อธิบายถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนโดยที่สกุลเงินหนึ่งถูกกำหนดให้เป็นสกุลเงินหนึ่ง ในกรณีนี้ กำหนด‘ ให้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหลักเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยตรึงอยู่กับทองคำ
  • เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศถือครองทองคำสำรองมากที่สุดในโลกในขณะนั้น ประเทศต่างๆ ของโลก ก็เลยต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์ในการแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินหลัก (นี่คือสาเหตุที่เงินดอลลาร์กลายเป็นสกุลเงินสำรองของโลกด้วย)
  • ข้อตกลง Bretton Woods ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีปริมาณทองคำสำรองไม่เพียงพอต่อจำนวนเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่หมุนเวียนตามการใช้กู้ยืมและการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีปริมาณที่สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพิมพ์เงินในปริมาณที่มากขึ้น
  • ในปี 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสันยุติระบบเบรตตันวูดส์ ซึ่งทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลอยตัวสูงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ

จุดเริ่มต้นของระบบลอยตัวอิสระ free-floating system (1973)

  • หลังจากยุติข้อตกลง Bretton Woods ได้มีการบรรลุข้อตกลงสมิธโซเนียนในเดือนธันวาคมปี 1971 แม้ว่าทั้งสองระบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ระบบสมิธโซเนียน อนุญาตให้มีช่วงความผันผวนของสกุลเงินที่มากกว่า
  • สหรัฐฯ ทำการตรึงค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำที่ 38 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง ภายใต้ข้อตกลงของสมิธโซเนียน ส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆ อาจผันผวน 2.25% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และสกุลเงินดอลลาร์ยังคงตรึงอยู่กับทองคำ
  • ในปี 1972 หลายประเทศในแถบยุโรปพยายามเลิกใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จนต่อมาได้มี แนวร่วม‘ ตั้งแต่ตอนนั้น ได้แก่ประเทศเยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก
  • ข้อตกลงทั้งสองฉบับมีข้อผิดพลาดเช่นเดียวกับข้อตกลง Bretton Woods และในปี 1973 ก็พังทลายลง ความล้มเหลวเหล่านี้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบลอยอิสระอย่างเป็นทางการ

เริ่มต้น The Plaza Accord (1985)

  • ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักกับผู้ที่ทำธุรกิจส่งออก และทำให้สหรัฐฯ ขาดดุล 3.5% ของ GDP ในเวลาต่อมา
  • เพื่อตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 Paul Volcker (พอล วอลค์เกอร์) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงซึ่งเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในขณะนั้น ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น (และลดอัตราเงินเฟ้อ) โดยทำให้สหรัฐฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ในตลาดโลก
  • ค่าเงินเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังทำลายประเทศโลกที่สามที่มีหนี้สิน และยังส่งผลทำให้โรงงานในสหรัฐฯ หลายแห่งถูกปิดตัว เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศได้
  • ในปี 1985 กลุ่ม G5 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก และญี่ปุ่น ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการประชุมลับที่โรงแรมพลาซ่าในนิวยอร์กซิตี้
  • ข่าวการประชุมรั่วไหลออกมา ส่งผลให้กลุ่ม G5 ต้องออกแถลงการณ์สนับสนุนการแข็งค่าของสกุลเงินที่ไม่ใช่ดอลลาร์ หรือที่รู้จักในชื่อ ‘Plaza Accord’ เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบทำให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว
  • แม้จะมีการแทรกแซงจากรัฐบาล นักลงทุนก็ยังมองเห็นโอกาสและศักยภาพในการทำกำไรในโลกยุคใหม่ แม้ว่าจะยังมีระดับความผันผวนที่รุนแรงก็ตาม แต่ไม่ว่าจะมีความผันผวน ก็ยังมีโอกาสที่จะทำกำไรได้
  • เรื่องนี้มีชัดเจนขึ้นเล็กน้อย หลังจากการล่มสลายของ Bretton Woods ประมาณหนึ่งทศวรรษ

การสถาปนาเงินยูโร (สนธิสัญญามาสทริชต์, 1992)

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปได้ร่างสนธิสัญญาหลายฉบับที่ออกแบบมา เพื่อนำประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงให้เข้ามีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งไม่มีสนธิสัญญาใดที่มีประสิทธิภาพมากไปกว่าสนธิสัญญาที่ร่างขึ้นในปี 1992 ที่เรียกว่าสนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht Treaty) โดยการตั้งชื่อตามเมืองดัตช์ ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการประชุม

สนธิสัญญาฉบับนี้ ส่งผลทำให้มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งนำไปสู่การสร้างสกุลเงินยูโรในเวลาต่อมา และรวบรวมประเทศยุโรปทั้งหมดให้เป็นเอกภาพ นอกจากนี้ยังริเริ่มความคิดเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศที่มีความมั่นคง สนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับการแก้ไขหลายครั้ง โดยเฉพาะการเข้ามาของสกุลเงินยูโร ซึ่งทำให้ธนาคารและธุรกิจในยุโรปได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน ช่วยขจัดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในเศรษฐกิจในยุโลกาภิวัตน์ด้วย

การถือกำเนิดของการซื้อขายออนไลน์ (1996)

  • ในช่วงทศวรรษ 1990 ตลาดสกุลเงินมีความซับซ้อนและดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องวิธีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่เปลี่ยนไป เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น
  • ปัจจุบันบางคนนั่งเทรดอยู่ที่บ้านคนเดียว สามารถค้นหาราคาการซื้อขายที่แม่นยำได้ ด้วยการใช้โทรศัพท์ครั้งเดียว แตกต่างจากในอดีตเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ ที่ต้องใช้บุคลากรและหัวหน้าหลายคน ในการค้นหาราคาการซื้อขายที่แม่นยำ
  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในสมัยนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ระบบทุนยุคเก่าเริ่มหายไป เปิดทางให้กับระบบทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ (เช่น หลังเหตุการณ์การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและสหภาพโซเวียต)
  • ตั้งแต่มีตลาด forex เข้ามา ทุกอย่างเปลี่ยนไป จากสกุลเงินที่ถูกปิดก่อนหน้านี้โดยระบบการเมืองแบบเผด็จการ ก็สามารถซื้อขายได้ปกติ มีตลาดเกิดใหม่อยู่ตลอด เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก สามารถดึงดูดการเก็งกำไรด้านเงินทุนและสกุลเงินต่างๆ ได้

การซื้อขาย forex วันนี้

ปัจจุบัน ตลาด forex มีการซื้อขายโดยผู้คนจำนวนมาก จากหลากหลายประเทศทั่วโลก และประวัติความเป็นมาของจุดเริ่มต้นของตลาดฟอเร็กซ์ตั้งแต่ปี 1944 ก็เป็นตัวอย่างคลาสสิกของการดำเนินการของตลาดเสรี ทุกวันนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มากขึ้น ทำให้การแข่งขันในตลาดมากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันมีเทรดเดอร์รายใหม่จำนวนมากที่เข้ามาสู่ตลาด forex ได้ และค่อนข้างมีสภาพคล่องสูง สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทุกอย่างสามารถซื้อขายได้ผ่านมือถือเครื่องเดียว นับว่าเป็นความสะดวกสบายแก่นักลงทุน แถมยังมีความรู้ให้ศึกษาได้ฟรีอีกต่างหาก คนจึงหันมาลงทุนในตลาด forex กันเยอะขึ้น และได้รับการยอมรับในวงกว้างด้วย ทั้งประเทศมหาอำนาจ และประเทศโลกที่สาม

ซื้อขาย forex ได้ที่ไหน

สำหรับท่านที่อยากจะลงทุนในตลาด forex สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการลงทะเบียนกับเว็บโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ ฝากเงินเข้าระบบ เท่านี้คุณก็เริ่มต้นเทรด forex ได้แล้ว ส่วนคนที่ยังมีประสบการณ์ในการเทรดน้อย ไม่ยากเลย เพราะโบรเกอร์แต่ละเจ้า เขาเปิดให้ลองเทรดฟรีได้ด้วย โดยที่ไม่ต้องเสียเงินสักบาท แถมยังมีข้อมูล มีรายละเอียดเกี่ยวกับการเทรด forex ให้ศึกษาเพิ่มเติมด้วย หรือจะการสอนจากผู้เชี่ยวชาญใน Youtube เพิ่มเติมก็ได้ มีให้ศึกษากันแบบฟรีๆ ก่อนที่จะเข้ามาเริ่มต้นเทรดจริงๆ

สรุปท้ายบท

  • จุดเริ่มต้นของแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเริ่มต้นขึ้นในเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งใช้ระบบการแลกเปลี่ยนนี้เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าจากชนิดหนึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่ง
  • เหรียญทอง เป็นสกุลเงินชนิดแรกที่มีการผลิตขั้นมาใช้เป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยน แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน ไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากทองคำมีน้ำหนักมากเกินไป
  • สหรัฐอเมริกาซึ่งมีทองคำสำรองมากที่สุดในอดีต สกุลเงินดอลลาร์ จึงได้รับการยอมรับ และใช้เป็นสกุลเงินหลักในการแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินต่างประเทศ
  • ปัจจุบันตลาด forex เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าการซื้อขายต่อวันอยู่ที่ 6.6 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งมีสภาพคล่องสูงที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดการซื้อขายประเภทอื่น