ธนาคารกลาง ถือว่าเป็นผู้เล่นหลักในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือ Forex (ฟอเร็กซ์) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย และการแทรกแซงของธนาคารกลาง ล้วนแต่มีผลกระทบอย่างมากต่อมูลค่าของสกุลเงิน เนื่องจากธนาคารกลาง มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดระบบอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้มีการซื้อขายสกุลเงินของประเทศต่างๆ ในตลาดฟอเร็กซ์
ธนาคารกลางเป็นหน่วยงานระดับชาติ และยังเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลของประเทศนั้นๆ แต่สามารถดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาล ความรับผิดชอบหลักของธนาคารกลาง ได้แก่ การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพของระบบธนาคาร และการแทรกแซงตลาดฟอเร็กซ์เมื่อถึงคราวจำเป็น ซึ่งการกระทำเหล่านี้ สามารถส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินได้ในวงกว้าง ดังนั้นมาตรการเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการซื้อขายฟอเร็กซ์
ธนาคารกลาง คืออะไร?
ธนาคารกลางเป็นหน่วยงานอิสระที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกใช้ เพื่อช่วยในการจัดการอุตสาหกรรมการธนาคารพาณิชย์ กำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง และรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
การที่มีอยู่ของธนาคารกลาง ถือว่าอยู่ในฐานะผู้ให้กู้ทางเลือกสุดท้าย ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในประเทศ จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่า รัฐบาลจะปฏิบัติตามภาระหนี้ของตนซึ่งจะช่วยลดอัตราการกู้ยืมของรัฐบาล

บทบาทของธนาคารกลาง 3 สามประการ
-
การควบคุมตลาด
หน้าที่หลักประการหนึ่งของธนาคารกลางคือ ควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยหลัก แม้ว่าธนาคารกลางจะไม่ได้ควบคุมตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่ธนาคารกลางก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยน โดยการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยหลัก นี่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรีไฟแนนซ์ธนาคารด้วยสภาพคล่อง และเป็นตัวบ่งชี้หลักของต้นทุนสินเชื่อภายในระบบเศรษฐกิจ หากอัตราดอกเบี้ยหลักต่ำ แสดงว่าต้นทุนสินเชื่อต่ำ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเติบโต
-
บริหารจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
หน้าที่ของธนาคารกลางอีกประการหนึ่งคือการจัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกลางอาจตัดสินใจซื้อสกุลเงินต่างประเทศ หรือขายสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อมีอิทธิพลต่อมูลค่าของสกุลเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินสำรองของพวกธนาคารกลาง ธนาคารกลางจึงพยายามควบคุมราคาของสกุลเงินของตน เพื่อหลีกเลี่ยงการประเมินค่าที่ต่ำไปหรือสูงเกินไป
-
การควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทษ
ธนาคารกลางอาจตัดสินใจออกหรือถอนสภาพคล่องในสกุลเงินในประเทศ เพื่อควบคุมจำนวนเงินที่หมุนเวียน ธนาคารกลางทุกแห่งมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้
-
การออกสกุลเงินประจำชาติ
ธนาคารกลางยังรับผิดชอบในการพิมพ์สกุลเงินและรับรองว่ามีเงินสดในระบบเศรษฐกิจเพียงพอ
ธนาคารกลางใดที่สำคัญที่สุด?
ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ไม่ได้มีความสำคัญต่อตลาดโลกเหมือนกันทุกประเทศ สกุลเงินของประเทศใดที่มีความสำคัญต่อตลาดการแลกเปลี่ยนของโลก เป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยม ธนาคารกลางของประเทศนั้น ก็จะถือว่าเป็นธนาคารกลางที่มีความสำคัญต่อตลาดโลกเช่นกัน เช่น
ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มยูโรโซน, ธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกา, ธนาคารกลางประเทศนิวซีแลนด์, ธนาคารกลางประเทศอังกฤษ, ธนาคารกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ธนาคารกลางของประเทศออสเตรเลีย, ธนาคารกลางประเทศเยอรมัน, ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่น และ นาคารกลางของประเทศแคนนาดา
ต่างก็เป็นธนาคารกลางที่โดดเด่นที่สุด เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีสกุลเงินที่มีมูลค่าสูง จึงทำให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรียกว่ามีอิทธิพลเกินขอบเขตเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้น นักลงทุนที่เข้ามาสู่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ต่างก็ให้ความสนใจกับคำประกาศและการดำเนินการของธนาคารกลางเหล่านี้ เนื่องจากการตัดสินใจของธนาคารกลางขนาดใหญ่ ล้วนส่งผลกระทบต่อการจับคู่สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดและเศรษฐกิจโลกโดยรวม สำหรับธนาคารที่สำคัญของโลก ได้แก่
ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มยูโรโซน European Central Bank (ECB)

- รับประกันความราบรื่นของสภาพเศรษฐกิจและการเงินของทุกประเทศ ที่ใช้สกุลเงินยูโร
- เป็นหัวหน้าระบบธนาคารกลางยุโรป (ESCB) ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางของยูโรโซน
- ทำหน้าที่รับประกันเสถียรภาพของราคา และการดำเนินงานธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและระบบการชำระเงิน
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับประเทศต่างๆ ภายในสหภาพการเงิน และให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ตามอัตราดอกเบี้ยหลักที่บังคับใช้
- ควบคุมเงินที่หมุนเวียนและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
- อนุญาตให้ประเทศในกลุ่มยูโรโซนออกธนบัตรยูโร (EUR)
ธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกา Federal Reserve System (FED)

- เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1913 ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเป็นธนาคารกลางที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
- เป็นผู้ดูแลอุปทานของเงินดอลลาร์ (USD)
- เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยผ่านคณะกรรมการที่เรียกว่า Federal Open Market Committee ซึ่งประชุมปีละ 8 ครั้งเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินและระบบธนาคารของสหรัฐฯ
ธนาคารกลางประเทศอังกฤษ Bank of England (BOE)

- ธนาคารแห่งอังกฤษ หรือ Bank of England เป็นองค์กรอิสระมาตั้งแต่ปี 1997
- เป็นของอังกฤษและควบคุมโดย UK Financial Service Authority (FSA)
- ช่วยให้มั่นใจถึงเสถียรภาพด้านราคาและระบบธนาคารและการเงินที่แข็งแกร่งในสหราชอาณาจักร
- เป็นผู้ออกธนบัตรปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) และจัดการปริมาณเงินหมุนเวียนมาเป็นเวลากว่า 300 ปี
ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่น Bank of Japan (BOJ)

- ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 โดยมีการสร้างเงินเยน (JPY) ที่มีความเป็นอิสระมาตั้งแต่ปี 1998
- ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่น บริหารจัดการการออกธนบัตร และรับประกันเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
- มีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาและกำหนดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้แน่ใจว่าต้นทุนสินเชื่อค่อนข้างคงที่และตลาดที่มีสภาพคล่อง เช่นเดียวกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก
- ธนาคารประเทศญี่ปุ่นได้บุกเบิกการใช้นโยบายการเงินบางประเภท ซึ่งตั้งแต่นั้นมาก็แพร่หลายมากขึ้นเช่น นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์เพื่อลดภาวะเงินฝืด (1999), นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (2544)
ธนาคารกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Switzerland National Bank (SNB)

- ธนาคารกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) เป็นธนาคารกลางของสมาพันธ์สวิส
- ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ และออกสกุลเงินประจำชาติฟรังก์สวิส (CHF)
- หน้าที่หลักของธนาคารกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือการรับประกันเสถียรภาพราคาในตลาดสวิส
- ทำหน้าที่ออกธนบัตรฟรังก์สวิส และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ
- ธนาคารกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดการสกุลเงินต่างประเทศและทองคำสำรองของประเทศ
ธนาคารกลางของประเทศแคนนาดา Bank of Canada (BOC)

- ธนาคารกลางของแคนาดา รับผิดชอบนโยบาย การเงินของประเทศ
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยบังคับใช้ในประเทศ และควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียน
- จัดการทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของแคนาดา และออกธนบัตรเป็นสกุลเงินในประเทศคือดอลลาร์แคนาดา (CAD)
แม้ว่าธนาคารกลางทุกแห่งจะมีบทบาทสำคัญเหมือนกัน แต่ธนาคารบางแห่งก็มีอิทธิพล และส่งผลกระทบต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากกว่า ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและสกุลเงินที่พวกเขาเป็นผู้กำกับดูแล
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้มีล้วนมีวัตถุประสงค์ร่วมกันก็คือ เพื่อรับรองเสถียรภาพด้านการเงินภายในประเทศหรือ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งวิธีการดำเนินงานอาจมีความแตกต่างกันไป
การติดตามประกาศและการแทรกแซงของธนาคารกลางอย่างใกล้ชิด ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหลัก ของประเทศ จะช่วยให้เราเข้าใจการพัฒนาในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ดีขึ้น และคาดการณ์ความผันผวนของสกุลเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการใช้ปฏิทิน FX ประจำปี จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยติดตามการประชุมของธนาคารกลางที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคต
ธนาคารกลางส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร?
เพราะบทบาทที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของธนาคารกลาง คือการดูแลให้สกุลเงินของประเทศ ให้มีเสถียรภาพมากที่สุด ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ธนาคารกลางจะเข้ามาแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญของธนาคารกลาง มีผลกระทบโดยตรงต่ออัตราสกุลเงิน โดยธนาคารกลางจะเลือกใช้กลยุทธ์ต่อไปนี้ เพื่อกำหนดอัตราสกุลเงิน
1. การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยหลัก
- เมื่อธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย แสดงว่าความต้องการใช้เงินอยู่ในระดับต่ำ และมีการลดค่าเงินของประเทศ นักลงทุนจะมองหาอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ของสกุลเงินเพิ่มขึ้น
- เมื่อธนาคารกลางลดอัตราดอกเบี้ย แสดงว่าความต้องการใช้เงินอยู่ในระดับสูง และมีการแข็งค่าของสกุลเงินของประเทศ นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้ความต้องการใช้สกุลเงินลดลง
2. การซื้อและขายเงินตราต่างประเทศ
- ธนาคารกลางดำเนินการแทรกแซงตลาด โดยการซื้อและขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- เมื่อธนาคารกลางซื้อสกุลเงินต่างประเทศ อุปสงค์ในสกุลเงินนั้นจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินแข็งขึ้น
- เมื่อธนาคารกลางขายสกุลเงิน อุปสงค์ในสกุลเงินจะลดลง ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
3. ตรึงสกุลเงิน
- การตรึงสกุลเงินเป็นกลยุทธ์ที่ธนาคารกลางรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสองสกุลเงินขึ้นไป ภายในวงแคบ
- ธนาคารกลางของจีนเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานที่โดดเด่นที่สุดของกลยุทธ์นี้
- คณะกรรมการนโยบายการเงินของจีน ได้ใช้กลยุทธ์นี้เพื่อต่อสู้กับการแข็งค่าของเงินหยวนของจีน ก่อให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ นับตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000
อะไรคือความเสี่ยงของการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารกลางถือว่าเป็นผู้เข้าร่วมตลาดคนสำคัญ แม้ว่าจะเป็นสถาบันของรัฐก็ตาม แต่ทุกครั้งที่ธนาคารกลางเข้ามาแทรกแซงตลาด ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง มีหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนทิศทางของกระแสเงินทุน
- สกุลเงินที่ธนาคารกลางซื้ออาจกลับทิศทางซึ่งนำไปสู่การลดค่าเงิน หากธนาคารกลางแปลงเงินที่ทำเป็นสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินท้องถิ่น จะทำให้เกิดการลดค่าเงินของสกุลเงินของตนเอง
2. การโจมตีแบบเก็งกำไร
- ธนาคารกลางอาจถูกโจมตีด้วยการเก็งกำไร หากการกระทำของธนาคารกลางถูกมองว่าไม่ยุติธรรม หรือเป็นกลางไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น หากธนาคารกลางถูกมองว่า เข้ามาแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเศรษฐกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักลงทุนอาจทิ้งสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ ไปเลย
3. สูญเสียความเป็นอิสระ
- ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง ถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง หากการกระทำของธนาคารกลางถูกมองว่า ได้รับอิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมจากความกังวลทางการเมือง มีความเป็นไปได้อย่างที่จะทำให้ธนาคารกลางสูญเสียความน่าเชื่อถือ
4.การกักตุนสกุลเงิน
- ความเสี่ยงประการหนึ่งที่ธนาคารกลางที่ซื้อสกุลเงินต่างประเทศมากเกินไป ก็คือสกุลเงินในประเทศของตนเองอาจถูกกักตุน ในกรณีนี้ จะมีความต้องการเงินมากเกินไป ทำให้ธนาคารกลางจำเป็นจะต้องขายสกุลเงินในประเทศของตนในที่สุด
5. การควบคุมเงินทุน
- หลายประเทศมีการควบคุมเงินทุนที่ขัดขวางการซื้อสกุลเงินบางสกุล หากธนาคารกลางซื้อสกุลเงินเหล่านี้มากเกินไป จะเป็นการละเมิดการควบคุมเหล่านี้
บทสรุป
- ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่ทรงพลังที่สุดในโลก เนื่องจากพวกเขามีอำนาจในการสร้างเงิน
- ธนาคารสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อสกุลเงินของประเทศในระดับที่สูงกว่าสถาบันการเงินอื่นๆ
- ประเทศทุประเทศสามารถมีธนาคารกลางได้ แต่เฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น ที่มีธนาคารกลางที่ไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
- ในการที่จะได้รับการพิจารณาให้เป็นธนาคารกลาง สถาบันจะต้องมีอำนาจเหนือปริมาณเงินของประเทศโดยสมบูรณ์ และไม่มีอิทธิพลจากรัฐบาล
- ธนาคารกลางมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ,กำกับดูแลของแต่ละธนาคาร และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย