Forex หรือตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุด และมีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่แตกต่างกัน โดยกำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนและมูลค่าตามสกุลเงินแต่ละชนิดไป
ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คืออะไร?
ความหมายของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ forex เป็นตลาดการซื้อขายเงินตราจากทั่วทุกมุมโลก เหตุผลที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ก็เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การทำธุรกิจ และการซื้อขายสินค้าต่างๆ อย่างเช่น เวลาที่เราเดินทางไปต่างประเทศ จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่ง เราก็ต้องทำการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นสกุลเงินของประเทศนั้นๆ เพื่อใช้จ่ายในการท่องเที่ยว การซื้อสินค้า จ่ายค่าเดินทาง ค่าที่พัก เป็นต้น ส่วนเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยน หรือความผันผวนนั้น จะขึ้นอยู่กับ อุปสงค์และอุปทาน เพราะฉะนั้น forex จึงเป็นเรื่องอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ

(รูปภาพอัตราการแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของค่าเงินบาท)
ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราประเภทต่างๆ
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี 3 ประเภทหลัก ดังนี้
-
ตลาดฟอเร็กซ์แบบสปอต (Spot Forex Market)
ตลาดฟอร์เร็กซ์แบบสปอต หรือตลาดฟอเร็กซ์เงินสด เป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายเพื่อการส่งมอบ หมายความว่าผู้ซื้อและผู้ขาย ตัดสินใจซื้อสินทรัพย์นั้นแล้ว ก็จะมีการส่งมอบสินทรัพย์นั้นทันที
-
ตลาดฟอเร็กซ์แบบส่งต่อ (Forward Forex Market)
ตลาดฟอร์เร็กซ์แบบส่งต่อ หรือตลาดฟอเร็กซ์ล่วงหน้าคือ สัญญาในการซื้อหรือขายสกุลเงินในอนาคตด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้ที่ทำการซื้อขาย สามารถล็อคอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตได้ เพื่อป้องกันความผันผวนของสกุลเงินตลาดฟอเร็กซ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-
ตลาดฟอเร็กซ์แบบฟิวเจอร์ส (Futures Forex Market)
ตลาดฟอเร็กซ์ฟิวเจอร์สคือ การซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะมีการส่งมอบในอนาคตของสกุลเงินที่ระบุในราคาและวันเวลาที่กำหนดเอาไว้
คู่สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุด
เนื่องจากตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีความผันผวนอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาเป็นเทรด forex เพื่อทำกำไรจากซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จะต้องรับความเสี่ยงในจุดนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความเสี่ยงสูง แต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหลายๆ สกุลก็ยังได้รับความนิยมที่ไม่ได้ลดลงได้ ซึ่งสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดดังต่อไปนี้

- EUR – USD (ยูโร-ดอลลาร์สหรัฐ)
- USD – JPY (ดอลลาร์สหรัฐ-เยนญี่ปุ่น)
- GBP-USD (ปอนด์อังกฤษ-ดอลลาร์สหรัฐ)
- AUD-USD (ดอลลาร์ออสเตรเลีย-ดอลลาร์สหรัฐ)
- USD-CHF (ดอลลาร์สหรัฐ-ฟรังก์สวิส)
- USD/CAD (ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดา)
- NZD/USD (ดอลลาร์นิวซีแลนด์ / ดอลลาร์สหรัฐ)
ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลก กำลังเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ แต่คู่สกุลเงินหลักเหล่านี้ ก็ยังเป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด และยังเป็นคู่สกุลเงินที่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่า
วิธีอ้างอิงการซื้อขาย Forex
คู่สกุลเงินแต่ละคู่ จะแสงให้เป็นถึงอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันของสกุลเงินทั้งสองสกุล โดยจะยกตัวอย่างคู่สกุลเงิน EUR/USD หรืออัตราแลกเปลี่ยนยูโรต่อดอลลาร์ เพื่อให้เข้าใจ้ได้ง่ายขึ้น ดังนี้

- สกุลเงินทางด้านซ้าย EUR (ยูโร) เป็นสกุลเงินหลัก
- สกุลเงินทางด้านขวา USD (ดอลลาร์สหรัฐ) คือสกุลเงินอ้างอิง
- อัตราแลกเปลี่ยนจะอ้างอิงที่จำเป็นในการซื้อสกุลเงินฐาน 1 หน่วย หมายความว่าสกุลเงินหลักจะแสดงเป็น 1 หน่วยเสมอ ในขณะที่สกุลเงินอ้างอิงจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตลาดปัจจุบัน และจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อสกุลเงินหลัก 1 หน่วย
- หากอัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD อยู่ที่ 1.09458 นั่นหมายความว่า 1 ยูโรจะซื้อ 1.09458 ดอลลาร์ (หรือพูดอีกอย่างคือ 1.09458 ดอลลาร์ในการซื้อ 1 ยูโร)
- เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าสกุลเงินหลักมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอ้างอิง (เนื่องจาก 1 ยูโรจะซื้อดอลลาร์สหรัฐได้มากขึ้น) ในทางกลับกัน หากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง นั่นหมายความว่าสกุลเงินหลักมีมูลค่าลดลงตามไปด้วย
ข้อดีและข้อเสียของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ข้อดีของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- สภาพคล่องสูง เพราะตลาดฟอเร็กซ์เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก ทำให้ง่ายต่อการซื้อและขายสกุลเงิน
- การเข้าถึงสะดวก ตลาดฟอเร็กซ์เปิดตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ทุกคนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงได้
- ตัวเลือกการซื้อขายที่มากกว่า ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเลือกคู่สกุลเงิน และกลยุทธ์การซื้อขายที่หลากหลายได้ ไม่จำกัด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น
- ลงทุนน้อย ต้นทุนการซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดการเงินอื่นๆ
- เลเวอเรจ การซื้อขายฟอเร็กซ์ช่วยให้เทรดเดอร์ใช้เลเวอเรจ เพื่อเพิ่มตำแหน่งการซื้อขายที่มากขึ้นได้ อาจทำให้ได้กำไรสูงขึ้นตามไปด้วย
- มีความโปร่งใส เพราะตลาดฟอเร็กซ์มีความโปร่งใสสูง โดยมีข้อมูลราคาการซื้อขายอัพเดตแบบเรียลไทม์สำหรับผู้เข้าร่วมตลาดทุกคน
ข้อเสียของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ตลาดฟอเร็กซ์มีความผันผวนสูง และอาจประสบกับความผันผวนของราคาอย่างกะทันหัน อาจทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินจำนวนมากได้ ในระยะเวลาสั้นๆ
- ความเสี่ยงของเลเวอเรจ แม้ว่าเลเวอเรจจะสามารถเพิ่มผลกำไรที่เป็นไปได้ แต่ก็นำไปสู่การขาดทุนและนำไปสู่ความเสี่ยงในการลงทุนได้เช่นกัน
- ตลาดฟอเร็กซ์มีการแข่งขันสูง นักลงทุนจะต้องแข่งขันกับผู้เข้าร่วมตลาดรายอื่น รวมถึงสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของโลกด้วย
- กฎระเบียบที่จำกัด ตลาดฟอเร็กซ์ไม่ได้รับการควบคุมเหมือนกับตลาดการเงินอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่กิจกรรมการฉ้อโกงและการหลอกลวงได้ และในประเทศไทยก็ยังไม่มีกฏหมายเข้ามารองรับ
- ความซับซ้อนของตลาด เทรดเดอร์ต้องมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับตลาดและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงิน ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
- ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลาดฟอเร็กซ์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งอาจทำให้เกิดความผันผวนและไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น การเกิดสงคราม เป็นต้น
- อุปสรรคสูง การซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุนจำนวนมาก ทำให้เทรดเดอร์ที่ไม่มีประสบการณ์จึงทำกำไรได้ค่อนข้างยาก
คุณสมบัติของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีคุณสมบัติที่สำคัญหลายประการ ซึ่งทำให้ตลาดนี้แตกต่างจากตลาดการเงินอื่นๆ ของโลก
- เป็นตลาดที่มีการดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ตามโซนเวลาต่างๆ ของโลก
- เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการซื้อขายสูงและต้นทุนในการทำธุรกรรมต่ำกว่าตลาดอื่น
- ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายของธนาคารกลาง
- เป็นตลาดที่เปิดโอกาสแก่เทรดเดอร์ ในการเก็งกำไรการเปลี่ยนแปลงของค่าสกุลเงิน ผ่านกลยุทธ์การซื้อขายที่หลากหลายและไม่จำกัด
- ตลาดสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผู้เข้าร่วมที่จากหลากหลายประเภท รวมถึงบุคคล สถาบันการเงิน และรัฐบาล
ใครคือผู้ที่เข้าร่วมในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ?
มีผู้เข้าร่วมมากมายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
- ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเป็นผู้เข้าร่วมที่มีผลมากที่สุดในตลาดฟอเร็กซ์ มีทั้งการซื้อขายในนามของลูกค้าและบัญชีของตนเอง
- ธนาคารกลาง ธนาคารกลางมีส่วนร่วมในตลาด เพื่อจัดการนโยบายการเงินของประเทศของตนและรักษาเสถียรภาพของค่าสกุลเงินต่างๆ
- กองทุนเฮดจ์ฟันด์และบริษัทการลงทุน สถาบันเหล่านี้ เข้ามาซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับลูกค้า
- บริษัท บริษัทข้ามชาติหลายบริษัท ใช้ตลาดฟอเร็กซ์เพื่อจัดการความเสี่ยงจากสกุลเงินของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำทำการค้าระหว่างประเทศ
- ผู้ค้ารายย่อย ผู้ซื้อขายนิติบุคคล สามารถมีส่วนร่วมในตลาดฟอเร็กซ์ผ่านทางโบรกเกอร์ออนไลน์ เพื่อหาผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสกุลเงิน
- รัฐบาล รัฐบาลมีส่วนร่วมในตลาดฟอเร็กซ์ เพื่อจัดการค่าสกุลเงินของตน และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศของตน

(รูปภาพ ผู้เข้าร่วมในตลาดฟอเร็กซ์รายใหญ่)
ปัจจัยอะไร ที่มีอิทธิพลต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ?
มีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้แก่
- ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ, GDP และข้อมูลการจ้างงาน สามารถส่งผลต่อค่าสกุลเงินได้ เพราะเป็นการบอกแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
- นโยบายของธนาคารกลาง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ อาจส่งผลกระทบต่อค่าสกุลเงินได้
- เหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง สงคราม และข้อตกลงทางการค้า อาจทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงินอย่างมีนัยสำคัญได้
- ความเชื่อมั่นของตลาด รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ก็มีอิทธิพลต่อค่าสกุลเงินได้
- ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถส่งผลต่อผลต่อภาวะเศรษฐกิจ และทำให้ค่าสกุลเงินมีความผันผวน
- การเก็งกำไร การซื้อขายเก็งกำไร สามารถส่งผลต่อมูลค่าสกุลเงินได้ เนื่องจากเทรดเดอร์ซื้อหรือขายสกุลเงินตามการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาสกุลเงินในอนาคต

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร?
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ หลายประการ ได้แก่
- การค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของค่าสกุลเงิน อาจส่งผลกระทบต่อดุลการค้าของประเทศ เนื่องจากการส่งออกจะมีราคาแพงขึ้น เมื่อค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น
- การไหลของเงินทุน ตลาดฟอเร็กซ์เอื้อต่อการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ ทำให้ธุรกิจและนักลงทุนสามารถลงทุนในตลาดต่างประเทศได้
- นโยบายการเงิน ตลาดฟอเร็กซ์สามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายการเงินของประเทศได้ เนื่องจากธนาคารกลางอาจปรับอัตราดอกเบี้ย หรือแทรกแซงตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ สามารถรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ในขณะที่ความผันผวนของสกุลเงิน อาจเป็นอันตรายต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งอาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลดลง?
มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลดลง
- ความต้องการลดลง หากความต้องการสกุลเงินของประเทศลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นอาจลดลง
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อต่ำหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศลดลงได้
- ความไม่มั่นคงทางการเมือง ความไม่มั่นคงทางการเมือง เช่น การประท้วงทางการเมืองหรือการเปลี่ยนแปลงผู้นำ อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศลดลงได้
- นโยบายของธนาคารกลาง หากธนาคารกลางของประเทศลดอัตราดอกเบี้ยหรือดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณ สกุลเงินของประเทศนั้นอาจอ่อนค่าลง
- ความไม่สมดุลทางการค้า การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องอาจทำให้สกุลเงินของประเทศอ่อนค่าลงเนื่องจากความต้องการใช้สกุลเงินอ่อนตัวลง
ค่าเงินแข็งค่า ค่าเงินอ่อนค่า คืออะไร?
เนื่องจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน มีการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง มีความผันผวนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ “ค่าเงินแข็งค่า” หรือ “ค่าเงินอ่อนค่า” ได้ ซึ่งความหมายของทั้งสองคำนี้คือ
- ค่าเงินบาทแข็ง ตลาดมีความต้องการใช้การใช้เงินบาทมากขึ้น เป็นผลทำให้ราคาของค่าเงินบาทสูง ขึ้นตามไปด้วย หมายความว่ามีราคาที่แพงขึ้นนั่นเอง เช่น เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นจาก 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
- ค่าเงินบาทอ่อน คือ ตลาดมีความต้องการในการใช้เงินบาทน้อยลง ส่งผลทำให้ราคาเงินบาทปรับลดน้อยลงตามไปด้วย หมายความว่าเงินบาทมีราคาที่ถูกลงนั่นเอง เช่น เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 31 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

สรุปท้ายบท
- ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ คือการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ในการแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศ
- ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงที่สูง เพราะฉะนั้นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนจะต้องยอมรับความเสี่ยงตรงจุดนี้ด้วย
- ค่าเงินของสกุลเงินต่างๆ มีการผันผวนตลอด 24 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบให้นักลงทุนได้กำไร หรือขาดทุนได้
- ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ forex หรือ เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุด และใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดการอื่นประเภทอื่น